2&3 Day Trip "เส้นทางธรรมชาติ เรื่องเล่าเมืองพิปูน"
อำเภอพิปูน เป็นอำเภอที่มีความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น อีกทั้งตำนานเรื่องเล่าจากปากคนในท้องถิ่นที่อยู่ในเหตุการณ์จริง ยังเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ที่น่าสัมผัสและน่าค้นหาอีกด้วย
เส้นทางนี้จึงขอนำเสนอตำนาน เรื่องเล่า และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเข้าไว้ด้วยกัน เริ่มต้นที่จุดแรก คือ วัดยางค้อม การเดินทางออกจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ไปยังเส้นทางหมายเลข 4015 และ 4194 ระยะทางประมาณ 71 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที
วัดยางค้อม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลยางค้อม พื้นที่วัดประมาณ 30 ไร่เศษได้รับการบริจาคจาก ขุนประสิทธิ์อักษร (อดีตกำนัน) และอุบาสิกาแก้ว ซึ่งก่อนหน้านี้พื้นที่แห่งนี้เป็นสำนักสงฆ์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 (ปี 2436) พื้นที่ก่อนหน้านี้เป็นที่ราบลุ่มคล้ายเกาะ เพราะมีแม่น้ำตาปีไหลผ่านโดยรอบและมีคลองเป็นคุ้งคดขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์ กำนันตำบลพิปูนในขณะนั้นได้ขุดคลองลัดขึ้น ปัจจุบันเป็นคลอดบอด ที่ปัจจุบันกรมประมงใช้ในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และมีการสร้างถนนผ่านหน้าวัดในเวลาต่อมา
(ขอขอบคุณ http://watyangkhom.blogspot.com/2012/04/blog-post.html)
วัดยางค้อมมีสิ่งดึงดูดใจค่อนข้างมาก อาทิ
- เป็นวัดเก่าแก่ที่มีจุดเริ่มต้นเป็นสำนักสงฆ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
- เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ ในวันที่ 20 กันยายน 2519 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงลงพระปรมาภิไธย ไว้ที่หน้าอุโบสถ
- มีอุโบสถเก่าที่สร้างโดยพ่อท่านคล้ายตั้งแต่ปี 2465 ในอุโบสถมีรูปพระประธานขนาดใหญ่ มีเจดีย์อนุสรณ์พ่อท่และานคล้ายวาจาสิทธิ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเจดีย์สีนิล
- ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระชนมายุ ครบ 84 พรรษา มีการบูรณะศาลาการเปรียญถวายและ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 วัดยางค้อมได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในสถานที่วางดอกไม้จันทน์ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย
ออกเดินทางจากวัดยางค้อม ไปศึกษาที่มาของชุมชนในอำเภอพิปูนต่อกันที่ โรงพยาบาลพิปูน ระยะทางห่างกันเพียงแค่ 1.1 กิโลเมตร
"โรงพยาบาลพิปูน" ณ โรงพยาบาลแห่งนี้ คืออดีตที่ีตั้งของฐานทัพฝ่ายรัฐบาลเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ที่ยังคงหลงเหลือสิ่งก่อสร้างในยุคนั้น ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา อีกทั้งยังมีผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว ที่สามารถเล่าความเป็นมากับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างดี
เดินทางต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะพบกับ "น้ำตกเหนือฟ้า"
น้ำตกเหนือฟ้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บริเวณของน้ำตกเหนือฟ้า ทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช และเป็นที่ตั้งของสำนักงานหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาหลวง น้ำบริเวณน้ำตกเหนือฟ้าได้รับการประกาศจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาดที่สุดของประเทศไทย เจ้าหน้าที่อุทยานอธิบายว่ามีการเปิดเผยจาก อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าจากการศึกษาคุณภาพน้ำในประเทศไทย พบว่ามีแหล่งน้ำที่ได้รับผลประเมินอยู่ในระดับดี มีอยู่ทั้งสิ้น 22 แหล่งน้ำและอยู่ในระดับ ดีมาก เพียงแห่งเดียว คือ แม่น้ำตาปีตอนบน หรือที่น้ำตกเหนือฟ้า โดยผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2558 พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำอยู่ที่ 93 คะแนน จาก 100 คะแนน ขณะที่ผลคะแนนเฉลี่ยจากการตรวจสอบ 4 ครั้งตลอดทั้งปี เท่ากับ 87 คะแนน ซึ่งสูงที่สุดในประเทศไทย
(ขอขอบคุณ http://www.workpointtv.com/news/35627)
น้ำตกเหนือฟ้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เริ่มมีนักท่องเที่ยวสนใจเข้าไปพักผ่อนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาดที่สุดของประเทศไทยที่วัดโดยกรมควบคุมมลพิษแล้ว พื้นที่แห่งนี้ยังมีที่ให้เล่นน้ำและถ่ายรูปหลายจุดให้นักท่องเที่ยวเลือกเล่นน้ำและถ่ายรูปได้มาก
. น้ำตกเหนือฟ้านับว่าเป็นหนึ่งในจำนวนหลายน้ำตกในอำเภอพิปูนที่เป็นจุดกำเนิดจุดกำเนิดแม่น้ำตาปี การเกิดลุ่มแม่น้ำตาปีในเขตอำเภอพิปูน นั้นเป็นการรวมตัวกันของลำคลอง 4 สาย คือ
1. คลองตาปี ที่ไหลผ่านบริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลพิปูนและหมู่ที่ 6 ตำบลยางค้อม มีความกว้าง
ประมาณ 30 เมตร ลึกโดยเฉลี่ย 2.50 เมตร และยาวประมาณ 30 กิโลเมตร คลองตาปีกำเนิดมาจากน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเหนือ น้ำตกหนานแสนห่า
2. คลองระแนะ ที่ไหลผ่านบริเวณหมู่ที่ 6 ตำบลพิปูนและหมูที่ 4 ตำบลเขาพระ มีความกว้าง 30 เมตร ลึกโดยเฉลี่ย 2.50 เมตร ยาวประมาณ 25 กิโลเมตร คลองระแนะ กำเนิดมาจากน้ำตกต่าง ๆ เช่นน้ำตกหนานนกนางแอ่น น้ำตกหนานฝาหม้อ วังน้ำวนวังแรด
3. คลองดินแดง ที่ไหลผ่านบริเวณหมู่ที่ 10 ตำบลเขาพระ มีความกว้าง 30 เมตร ลึกโดยเฉลี่ย 2.50 เมตร ยาวประมาณ 25 กิโลเมตร คลองดินแดง กำเนิดมาจากน้ำตกต่าง ๆ เช่น น้ำตกหนานนกยูง น้ำตกห้วยสูง
4. คลองกะทูน ที่ไหลผ่านบริเวณหมู่ที่ 7 และ 8 ตำบลกะทูน ขนาดความกว้าง 30 เมตร ลึกโดยเฉลี่ย 2.50 เมตร ยาว 20 กิโลเมตร คลองกะทูนกำเนิดมาจากน้ำตกต่าง ๆ เช่น น้ำตกห้วยสาว น้ำตกหนานน้ำฟุ้ง
จากการรวมตัวกันของแม่น้ำ 4 สาย ทำให้เกิดลุ่มน้ำขึ้นในอำเภอพิปูน เรียกว่า ลุ่มน้ำตาปี ตอนบน ไหลไปรวมกันกับแม่น้ำสายอื่น ๆ ไหลผ่านช่องแคบคลองน้ำดำ บริเวณตำบลควนกลางไหลสู่อำเภอฉวาง ไปสู่เขตจังหวัดสุราษฏร์ธานีธานี แล้วไหลสู่อ่าวไทยใน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
เดินทางต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่อมา "อ่างเก็บน้ำคลองดินแดง" จากน้ำตกเหนือฟ้า ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที
อ่างเก็บน้ำคลองดินแดงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2535 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2545 พื้นที่อ่างเก็บน้ำคลองดินแดงมีหลายสิ่งดึงดูดใจที่สามารถสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มหลายอย่าง อาทิ
1. มีทิวทัศน์ที่สวยงามมากในทุกฤดูกาล และทุกช่วงเวลา ในฤดูร้อนช่วงเช้าและเย็นจะมีทิวทัศน์รอบเขื่อนที่สวยมากที่ประกอบด้วยท้องฟ้าใส เมฆสวย ป่าไม้รอบแนวสันเขาสุดลูกหู ลูกตา มองระยะไกลจะเห็นเขาพระ ที่เป็นเขาลูกเล็กๆ ใจกลางอำเภอที่มีพระพุทธสิงหิงค์ขนาดใหญ่ มองเห็นได้เด่นชัดและเป็นสถานที่ที่สามารถถ่ายภาพอ่างเก็บน้ำคลองดินแดงได้อย่างดี
2. มีสันเขื่อนเป็นบริเวณกว้าง เหมาะสำหรับไปถ่ายรูป เดินเล่น ไปปิกนิก ออกกำลังกาย พักผ่อนกับครอบครัว ปั่นจักรยานทั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่าย และหากมีฝนตก นักท่องเที่ยวจะสามารถเห็นทะเลหมอกเป็นบริเวณกว้าง เหมาะแก่การถ่ายภาพเป็นอย่างยิ่ง
3. มีศูนย์ผลิตภัณฑ์ชุมชนรอบอ่างเก็บ อาทิ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์ผลิตหมวกคาวบอยจากยางพารา และศูนย์การเกษตรอื่นๆ
แวะพักกายที่ชมดาวบ้านมานิษา รีสอร์ท การเดินทางจากอ่างเก็บน้ำคลองดินแดงระยะทางเพียง 14 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 16 นาที
บ้านชมดาว เป็นรีสอร์ตขนาดเล็ก
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตำบล กะทูน
เลียบเส้นทางสาย 4224 เป็นอาคาร 2 ชั้น มีจำนวนห้องพัก 6 ห้อง (ห้องธรรมดา 2 ห้อง ห้องพิเศษ 2 ห้อง) เปิดบริการทุกวัน จุดเด่นของบ้านชมดาว คือ มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก
เหมาะแก่การพักผ่อน เพราะรีสอร์ตตั้งอยู่ตรงแนวสันเขื่อนพอดี
มองไปด้านหน้าบรรยากาศจะดีมาก เพราะสามารถมองเห็นวิวอ่างเก็บน้ำกะทูนทุกทิศทาง
และเทือกเขาหลวงตลอดแนว ตอนเช้าจะเห็นสายหมอกในระยะไกลสุดลูกหูลูกตา
การพักที่บ้านชมดาวจะทำให้สามารถลงไปเดินที่สันเขื่อนเพื่อถ่ายรูปในช่วงเช้าได้มากที่สุด ส่วนบ้านมานิษา เป็นบ้านของเจ้าของรีสอร์ตชมดาว ที่ใช้บ้านพักมาทำเป็นรูปแบบการให้บริการแบบโฮมสเตย์ด้วย การพักที่บ้านมานิษามีห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำในตัว และบริเวณที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งได สามารถทำอาหารเองได้เพราะมีอุปกรณ์เครื่องครัวไว้ให้บริการ
ชมคลิปสัมภาษณ์
ตื่นเช้ามารับอากาศบริสุทธิ์ที่อ่างเก็บน้ำกะทูน อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นอ่างเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุด ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่สร้างมาในเวลาใกล้เคียงกับอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง จนทำให้ อำเภอพิปูนกลายเป็นอำเภอที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมือง 2 อ่าง” หรือ เป็นเมืองที่มี “ทะเลสาบกลางหุบ”
อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนกลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะ
- ทัศนียภาพรอบอ่างเก็บน้ำในยามเช้าหรือบ่ายจะเหมาะสำหรับการพักผ่อนแบบสบายๆ หรือการออกกำลังกายในหลายรูปแบบ เพราะตรงพื้นที่บริเวณสันเชื่อนของอ่างเก็บน้ำจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่เป็นที่ราบในหุบเขาในระยะไกล มีวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ที่เรียบง่าย ใจดีและเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว รวมถึงชุมชนดั้งเดิมที่เสียหายตอนน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2531 และชาวกะทูนมีมติร่วมกันว่าจะปล่อยให้จมอยู่ใต้น้ำตามสภาพที่หลงเหลืออยู่หลังน้ำท่วม ดังนั้นชุมชนที่จมอยู่ใต้น้ำประกอบด้วยหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน โรงเรียน นาข้าว สวนยาง โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ถึง 2 โรง วัดที่เมรุที่มองเห็นโผล่พ้นน้ำให้เห็นในระยะไกลในน้ำนั้นถูกสร้างขึ้นและเผาศพได้เพียงศพเดียวและยังตั้งอยู่ได้ ขณะล่องเรือนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นแนวเสาไฟเดิมของหมู่บ้านที่อยู่ใต้น้ำด้วย
- มีการบริการล่องเรือชมเมืองใต้น้ำ การชมซากปรักหักพังของชุมชนที่หลงเหลืออยู่หลังน้ำท่วม และการเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนที่เคยรุ่งเรืองจากการค้าไม้ ขายยางพารา ค้าแร่และผลผลิตทางการเกษตร มีสะพานข้ามคลองกะทูนคงจะเป็นจุดถ่ายรูปที่สำคัญ (Landmark) แห่งใหม่ การขับรถรอบอ่างเก็บน้ำในตอนเช้าและแวะถ่ายรูปไปเรื่อยๆ จะเห็นหมอกลดระดับลงมาปกคลุมเขาและรอบๆ อ่างเก็บน้ำ
- อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนยังมีพื้นที่ท่องเที่ยวกระจัดกระจายในอีกหลายจุดอยู่รอบๆอ่าง บางจุดสามารถเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวจากบ้านกะทูนในรัศมี 2-3 กิโลเมตร เช่น สวนผลไม้ หมู่บ้านศุภนิมิต ห้างทองโบราณ จุดที่น่าสนใจมาก คือ จุดสุดท้ายของถนนสาย 4189 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างอำเภอพิปูนกับอำเภอนบพิตำของจังหวัดนครศรีธรรมราช และเชื่อมต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เดินทางออกจากอ่างเก็นน้ำกะทูนต่อไปยัง พระใหญ่ หรือ ตำบลเขาพระ ผ่านเส้นทางหมายเลข 4224 โดยรถยนต์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 32 นาที ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
บริเวณชั้นล่างเชิงเขาพระที่เชื่อว่าเป็นถ้ำพระเพราะมีการพบว่ามีพระพุทธรูปโบราณและเศียรพระอยู่ในถ้ำ (ปัจจุบัน กรมศิลปากร นครศรีธรรมราช ได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช) ถ้ำแห่งนี้ชาวพิปูนเชื่อกันว่าเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินก่อนที่พระองค์จะเดินทางไปประทับที่ถ้ำเขาขุนพนมในอำเภอพรหมคีรี ดังนั้นนายอำเภอและชาวพิปูนจึงร่วมมือกันก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นเครื่องเตือนใจและเชื่อมโยงเรื่องราวในอดีต ไว้ที่หน้าถ้ำพระ เช่น ปั้นพระพุทธรูปปางต่างๆ ส่วนด้านหน้าถ้ำท่านตาปะขาวก็ปั้นรูปท่านตาปะขาวประดิษฐานไว้เพื่อเป็นที่สำหรับเคารพ บูชาของประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้ทางอำเภอยังได้บุกเบิกที่รกร้างเป็นที่ตั้งค่ายลูกเสือ โดยสร้างอาคารค่ายลูกเสือขึ้นมา 2 หลัง
ชมทัศนียภาพมุมสูงจากคลิปวิดีโอ
(ขอขอบคุณ https://www.youtube.com/watch?v=sWeICDjHffQ)
บริเวณชั้นล่างเชิงเขาพระที่เชื่อว่าเป็นถ้ำพระเพราะมีการพบว่ามีพระพุทธรูปโบราณและเศียรพระอยู่ในถ้ำ (ปัจจุบัน กรมศิลปากร นครศรีธรรมราช ได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช) ถ้ำแห่งนี้ชาวพิปูนเชื่อกันว่าเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินก่อนที่พระองค์จะเดินทางไปประทับที่ถ้ำเขาขุนพนมในอำเภอพรหมคีรี ดังนั้นนายอำเภอและชาวพิปูนจึงร่วมมือกันก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นเครื่องเตือนใจและเชื่อมโยงเรื่องราวในอดีต ไว้ที่หน้าถ้ำพระ เช่น ปั้นพระพุทธรูปปางต่างๆ ส่วนด้านหน้าถ้ำท่านตาปะขาวก็ปั้นรูปท่านตาปะขาวประดิษฐานไว้เพื่อเป็นที่สำหรับเคารพ บูชาของประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้ทางอำเภอยังได้บุกเบิกที่รกร้างเป็นที่ตั้งค่ายลูกเสือ โดยสร้างอาคารค่ายลูกเสือขึ้นมา 2 หลัง
พระใหญ่มิ่งมงคลที่ประดิษฐานเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาพระใจกลางเมืองพิปูน หากขึ้นถึงยอดเขาจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองพิปูนได้โดยรอบ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 อ่าง (อำเภอพิปูนได้รับสมญานามว่าเมืองสองอ่าง หรือ เมืองทะเลสาบในหุบเขา) เส้นทางขึ้นยอดเขาพระเป็นบันไดปูนปั้นเป็นเศียรพญานาคจำนวนเกือบ 300 ขั้น ที่ทั้งสองข้างทางปกคลุมไปด้วยพืชพื้นเมืองจำนวนมาก เหมาะสำหรับการทำเป็นเส้นทางเรียนรู้ธรรมชาติ นอกจากนี้พื้นที่บริเวณเขาพระยังใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีทำบุญประจำปีอย่างต่อเนื่อง ในเดือน 5 แรม 1 ค่ำ โดยประชาชนจะเรียกทำบุญนี้กันติดปากว่า “วันทำบุญชายเขาพระ” จะมีงานชักพระบกและนมัสการพระใหญ่
สถานทีถัดไป คือ น้ำตกหนานน้ำฟุ้ง จะมีองค์ประกอบไม่ครบ
3As
เพราะการเข้าถึงค่อนข้างยาก และต้องไปในช่วงหน้าแล้ง
เพราะต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น เส้นทางไกลจึงจำเป็นต้องพักค้างคืน
และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ
แต่น้ำตกแห่งนี้กลับมีการกล่าวถึงจากผู้ให้ข้อมูลหลายท่านและหลายครั้งว่า เป็นสถานที่ที่ต้องการแนะนำให้นักท่องเที่ยวได้ไปสักครั้ง
เพราะว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก มีแอ่งน้ำที่เหมาะสำหรับเล่นน้ำตก และถ่ายรูป
โดยเฉพาะเมื่อสายน้ำกระทบกับแสงอาทิตย์จะมีทั้งสีรุ้ง และสีทอง
เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็นเป็นอันมาก น้ำตกหนานน้ำฟุ้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวล่าสัตว์อย่างเสรีของพรานท้องถิ่นมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน
หนานน้ำฟุ้ง
อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำกะทูนไปทางคลองกะทูนประมาณ 7 กิโลเมตร การเดินทางเข้าหนานน้ำฟุ้ง
แนะนำให้เดินทางไปกับคนในพื้นที่เพราะต้องใช้การเดินเท้า และเป็นป่ารกอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน
ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่เคยไปหนานน้ำฟุ้งพูดกันว่า หนานน้ำฟุ้งเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดในอำเภอพิปูน
แม้ว่าเส้นทางที่จะไปถึงน้ำตกนั้นเป็นเส้นทางที่ยังไม่สะดวกในการเดินทางมากนักเพราะการเดินทางเข้าถึงได้ยาก
เนื่องจากการเดินทางโดยรถยนต์ยังเข้าไปไม่ถึง
นอกจากนี้ในพื้นที่อำเภอพิปูนยังมีน้ำตกอีกหลายแห่ง
เช่น น้ำตกหนานแสนห่า น้ำตกอ่าวพวย
น้ำตกหนานฝาหม้อ น้ำตกระแนะ น้ำตกวังแรด และน้ำตกหนานนกนางแอ่น
น้ำตกเหล่านี้ตั้งอยู่ที่คลองระแนะ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ในแนวเดียวกัน ในละแวกนี้มีน้ำตกมากที่สุด
สามารถเดินทางไปได้โดยรถจักยานยนต์
อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ ตำนานเรื่องเล่าขานจากชาวบ้านในชุมชนอำเภอพิปูน สิ่งที่น่าสนใจจากการเล่าเรื่องราวที่วัดยางค้อม คือ ตำนานพื้นที่สีแดงและสีชมพู
(เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในยุคคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่อำเภอพิปูน)
จากการพุดคุยกลุ่มย่อยกับทีมกำนันและผู้ใหญ่บ้านในตำบลยางค้อม
ขณะที่พวกเขาเตรียมพื้นที่สำหรับวางดอกไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9 ต่อเนื่องด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าอาวาสวัดยางค้อม
(อดีตนายตำรวจมือปราบที่ต้องทำงานปราบปรามคอมมิวนิสต์
ในพื้นที่อำเภอพิปูนและจังหวัดสุราษฎร์ธานี) ในวันที่ 8 ตุลาคม 2560 สามารถสรุปได้ว่า
“ประมาณปี
พ.ศ. 2510
ในหมู่บ้านมีคนที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านคอมมิวนิสต์
ในขณะที่ภาครัฐก็ดำเนินการตั้งค่ายทหารขึ้นที่บ้านยางค้อมซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งโรงพยาบาลพิปูนในปัจจุบัน
ในช่วงนั้นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนภูเขาจะถือว่า มีแนวคิดเป็นคอมมิวนิสต์” สำหรับสาเหตุที่ชาวบ้านต้องกลายเป็นเป็นคอมมิวนิสต์
นั้น ผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มของกำนันอธิบายว่า
“เกิดจากอุดมการณ์ความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับฝ่ายชาวบ้าน และสาเหตุชาวบ้านได้ขึ้นเป็นคอมมิวนิสต์
เพราะทางได้เข้ามาบีบบังคับและกดดัน กำนันยกตัวอย่างว่า
“หากใครมีญาติพี่น้องคนใดอาศัยอยู่บนภูเขา และทางภาครัฐเชื่อว่าเขาเป็นคอมมิวนิสต์
ฝ่ายทหารจะดำเนินการการฆ่าทั้งหมด” การถูกเก็บทั้งครอบครัวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนส่วนหนึ่งเกิดความคิดที่ต้องการเชื่อมโยงกับเครือข่ายคอมมิวนิสต์ด้วยการอพยพไปอยู่บนภูเขาเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
คนขับรถขนของที่อยู่ในวงสนทนาเล่าว่าครอบครัวเขาเคยเป็นเครือข่ายคอมมิวนิสต์
ได้ให้ตัวอย่างในเรื่องนี้ว่า “ถ้าในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งมีคนเป็นคอมมิวนิสต์ 1
คน และเลือกที่จะไปอาศัยอยู่บนเขาเพื่อศึกษาลัทธิ
และกิจกรรมของลัทธิ คนอื่นๆ
ที่เป็นสมาชิกของครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบจะได้รับการบีบบังคับจากฝ่ายทหารว่าต้องไปนำคนที่เป็นคอมมิวนิสต์โดยที่อยู่บนเขามาให้ทางทหารให้ได้
ไม่เช่นนั้นจะต้องถูกฆ่าทั้งครอบครัวดังนั้นเพื่อรักษาตระกูลสายสัมพันธ์ของญาติพี่น้องเอาไว้
คนส่วนหนึ่งจึงเลือกที่จะเข้าไปเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยนั้นบนภูเขาจะมีถนนสาย
4189 (พิปูน-ยอดเหลือง)
ที่สามารถเชื่อมต่ออำเภอนบพิตำและอำเภอท่าศาลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช
และเดินทางต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ พื้นที่ตามแนวถนนสาย
4189 ถือเป็นเขตอิทธิพลของคอมมิวนิสต์และไม่มีการเรียกค่าคุ้มครอง
และจะมีการยิงระเบิดปืนใหญ่เป็นเวลาอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านเรียกว่า “สถานีปืนคอล”
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเวลาทหารส่งเสบียงให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร จะต้องนำเสบียงไป 2 เท่าเสมอ”
เมื่อถามถึงที่มาของลัทธิคอมมิวนิสต์ในอำเภอพิปูนได้รับคำอธิบายว่า
“ลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ภาคใต้ แต่เกิดขึ้นครั้งแรกที่ภาคอีสาน
และได้ขยายพื้นที่มาเรื่อยๆ ซึ่งอำเภอพิปูนเป็นพื้นที่แรกที่เกิดคอมมิวนิสต์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
พิปูนเป็นเขตที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยโฆษณาชวนเชื่อให้ชาวบ้าน
เข้าเป็นแนวร่วมและเป็นผู้ร่วมขบวนการจนชาวบ้านได้เข้าป่า สำหรับอำเภอพิปูนในช่วงแรกบุคคลที่มาชักจูง คือ นายประคอง
จงจิตรหรือสหายเปลี่ยน และนายจิต จงจิตร ซึ่งเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลและมีบารมีในเขตพื้นที่อำเภอพิปูน
คนกลุ่มนี้ได้ทำการชักจูงประชาชนให้เข้าร่วมขบวนการ
โดยให้เหตุผลว่าภาครัฐไม่เคยให้ความดูแลเอาใจใส่กับการเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ที่ทุรกันดาร
ดังนั้นหากประชาชนเข้าเป็นแนวร่วมกับทางฝ่ายตนแล้วก็จะช่วยให้ชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น
ประมาณ
ปี พ.ศ. 2520-2521
นายอำเภอ นายสมพงษ์ ริยาพันธ์ เข้ามากวาดล้างกลุ่มคอมมิวนิสต์
อย่างหนัก ประกอบกับนโยบายใต้ร่มเย็นของกองทัพภาคที่ 4 นำโดยพลเอกหาญ
ลีลานนท์ แม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 นำนโยบาย 66/23 มาเป็นแนวปฏิบัติในภาคใต้เรียกว่า “ใต้ร่มเย็นกองทัพแห่งชาติ” ดำเนินงานด้านการเมืองโดยรับอดีตคอมมิวนิสต์ที่เข้ามอบตัวเป็นผู้พัฒนาชาติ
ด้านการทหารกองทัพภาคที่ 4 และกองทัพจากภาคอื่น ๆ
ที่ร่วมกันเป็นกองทัพแห่งชาติได้เข้าโจมตียึดค่าย 508 ซึ่งเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่และมั่นคงที่สุดในภาคใต้
พร้อมทั้งค่ายบริวารในพ.ศ. 2525 เมื่อหัวหน้ากลุ่มและผู้นำคนสำคัญเสียชีวิตลง
ทุกอย่างก็หายไปเรื่อยๆจนหมดไปในที่สุด
นายอำเภอสมพงษ์ นามสกุลที่ถูกต้องคือ ศรียพันธ์ ไม่ใช่ริยาพันธ์
ตอบลบ